ชาวนนทบุรีพร้อมสูดกลิ่นความเจริญแล้วหรือยังคะ วันนี้ แหม่มรีวิว มาพร้อมกับการเปิดเดินรถของ รถไฟฟ้าสายสีชมพู หรือใครหลาย ๆ คนให้ชื่อใหม่ว่า “น้องนมเย็น“ ให้บริการเดินรถจากศูนย์ราชการนนทบุรี ไปจนถึง มีนบุรี
ระยะทางกว่า 34.5 กิโลเมตร มีจำนวน 32 สถานี แบ่งเป็น 30 สถานีหลัก และ 2 สถานีต่อขยาย ความปังอยู่ตรงที่น้องนมเย็นจะเป็นตัวเชื่อมรถไฟฟ้าที่ เปลี่ยนสายได้ถึง 6 สาย เลยทีเดียว ต่อจากกนี้การเดินทางของชาวนนทบุรีจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
[lwptoc numeration=”decimalnested” numerationSuffix=”dot” title=” เปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูไปไหนบ้าง – เปิดตอนไหน ราคา?” width=”auto” float=”center” backgroundColor=”#e0ffcb” skipHeadingLevel=”H4″ skipHeadingText=”เรื่องที่เกี่ยวข้อง:”]
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดให้บริการเมื่อไหร่
ก่อนอื่นแหม่มต้องขอบอกก่อนว่ารถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น เป็นรถไฟฟ้ารูปแบบ ‘โมโนเรล’ หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพราะเป็นรถไฟฟ้าที่มีโครงการสร้างพร้อมกัน
เปิดทดสอบการเดินรถ
โดยจะเริ่มทดสอบการเดินรถไฟฟ้าเสมือนจริง ใน วันที่ 15 สิงหาคม 2566 นี้ โดยจะเป็นการเปิดทดสอบเดินรถในเส้นทาง 30 สถานีหลักก่อน
เปิดให้บริการผู้ใช้ทดลอง
จะเปิดให้ประชาชนร่วมทดลองใช้บริการฟรี ในการทดลองเดินรถ รถไฟฟ้าสายสีชมพู 18 พฤศจิกายน 2566 ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แบบ จัดเก็บค่าโดยสารในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ที่จะถึงนี้เพื่อน ๆ คาดว่าเริ่มต้นที่ 15 บาทค่ะ คนไหนว่างก็อย่าลืมไปลองขึ้นกันได้นะคะ ส่วน 2 สถานีต่อขยาย เตรียมเปิดในช่วงปลายปี 2567
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ไปไหนบ้าง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่ศูนย์ราชการนนทบุรี ไปจนถึง มีนบุรี ระยะทางกว่า 34.5 กิโลเมตร มีจำนวน 30 สถานีหลัก และ 2 สถานีต่อขยาย โดยรถไฟฟ้าสายนี้มีทำเลที่น่าสนใจหลายที่เลย เส้นทางเดินรถจะผ่ายจุดไหนบ้าง วันนี้แหม่มรีวิวเอาข้อมูลมาฝากแล้วค่ะ
-
สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01)
สถานีต้นทางตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และบริษัท ไทยคม ทางขึ้นลงทั้ง 4 ด้านของสถานี เชื่อมต่อไปยังสถานที่ใกล้เคียงอย่าง ห้างเอสพลานาด อุทยานมกุฏรมยสราญ และศูนย์ราชการนนทบุรีที่สำคัญที่นี่เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่-บางซื่ออีกด้วย
-
สถานีแคราย (PK02)
ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก
-
สถานีสนามบินน้ำ
ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ
-
สถานีสามัคคี (PK04)
ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาดกับถนนสามัคคี
-
สถานีกรมชลประทาน (PK05)
ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา และ วิทยาลัยชลประทาน
-
สถานีแยกปากเกร็ด (PK06)
ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ
-
สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด (PK07)
ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ อยู่ตัดกับ ถ.เลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตรงหน้า Big C แจ้งวัฒนะ 2 ทางขึ้นลงจะมี 4 ทาง เชื่อมบริเวณ 4 แยก เชื่อม Homepro BigC และ หน้าไทยการ์เมนต์เอ็กซปอร์ต
-
สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 (PK08)
ตั้งอยู่หน้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณ แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 19 ทางขึ้นลง 4 ฝั่ง โดยจะมีทางเชื่อมที่สามารถเชื่อมเข้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะได้เลย โดยอีก 3 ทางจะเชื่อมไปที่ฝั่ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ 19 สเตชั่น พลาซ่า
-
สถานีศรีรัช (PK09)
ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้กับหมู่บ้านเมืองทองธานี และสถานีนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี สถานีทะเลสาปเมืองทอง
-
สถานีเมืองทองธานี (PK10)
ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวง และ ห้างแม็คโครซุปเปอร์สโตร์ สาขาแจ้งวัฒนะ โดยสถานีนี้จะเป็นสถานีที่มี 3 ชานชาลา แบ่งเป็น 2 ชานชาลา วิ่งในเส้นทางปกติ และ 1 ชานชาลาส่วนต่อขยายที่จะวิ่งเข้าไปในเมืองทองธานี ที่จะแยกขนวบในการวิ่งกับสายปกติ
-
สถานีแจ้งวัฒนะ 14 (PK11)
ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างบิ๊กซีแจ้งวัฒนะ และซอยแจ้งวัฒนะ 14
-
สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (PK12)
ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงสุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
-
สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ (PK13)
ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7
-
สถานีหลักสี่ (PK14)
ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิตสามารถเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)
-
สถานีราชภัฏพระนคร (PK15)
สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร และติดกับห้างแม็กซ์แวลูหลักสี่ หลักสี่สแควร์
-
สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (PK16)
ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ด้วยทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)
-
สถานีรามอินทรา 3 (PK17)
สถานีแรกบนถนนรามอินทราตั้งอยู่บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก
-
สถานีลาดปลาเค้า (PK18)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23 ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า
-
สถานีรามอินทรา กม.4 (PK19)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 33 และซอยรามอินทรา 37
-
สถานีมัยลาภ (PK20)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ
-
สถานีวัชรพล (PK21)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61
-
สถานีรามอินทรา กม.6 (PK22)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42
-
สถานีคู้บอน (PK23)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46
-
สถานีรามอินทรา กม.9 (PK24)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 54 และซอยรามอินทรา 56
-
สถานีวงแหวนรามอินทรา (PK25)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade
-
สถานีนพรัตน์ (PK26)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ซอยรามอินทรา 103/1 และโรงพยาบาลนพรัตน์
-
สถานีบางชัน (PK27)
ตั้งอยู่บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 113 และซอยรามอินทรา 115
-
สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ (PK28)
ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างซอยรามอินทรา 121 และ ซอยรามอินทรา 123
-
สถานีตลาดมีนบุรี (PK29)
สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2
-
สถานีมีนบุรี (PK30)
ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการ และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ได้ด้วยทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)
ส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีสถานีอะไรบ้าง
ส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพู เพื่อน ๆ จะต้อง เปลี่ยนขบวนที่สถานีศรีรัช แหม่มบอกเลยว่าไม่อึดอัดแน่นอน เพราะทางถานีจะมีชานชาลาเพิ่มสำหรับส่วนต่อขยายทำให้เพื่อน ๆ ที่ต้องการเปลี่ยนสายไปยังส่วนต่อขยายจะไม่ไปรวมกันกับผู้โดยสารของสนทางหลักค่ะ
-
สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01)
สถานีส่วนต่อขยายตั้งอยู่บนถนนบางปะอิน-ปากเกร็ด ใกล้กับชาเลนเจอร์ฮอลล์ ของอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยจะมีทางเชื่อมจากสถานีเข้าสู่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ได้เลย เพื่อน ๆ คนไหนชอบดูคอนรับลองการเดินทางสะดวกขึ้นแน่นอน
-
สถานีทะเลสาปเมืองทอง (MT02)
สถานีส่วนต่อขยายตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 บริเวณทางแยกไปทางพิเศษอุดรรัถยา โดยจะเชื่อมทางขึ้นลงไปที่ อิมแพ็ค ฟอรั่ม และทะเลสาบเมืองทองได้สะดวกเลย
รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายไหนบ้าง
รถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้นถือเป็นรถไฟฟ้าที่ มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ หลายสาย โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ อีก 6 สาย ใน 5 จุด ได้แก่
- จุดที่ 1 PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และในอนาคตจะเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี
- จุดที่ 2 PK14 สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
- จุดที่ 3 PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
- จุดที่ 4 PK30 สถานีมีนบุรี สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
- จุดที่ 5 PK21 สถานีวัชรพล เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า สายสีเทา ช่วง วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ (ในอนาคต)
ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู กี่บาท
คาดว่าค่าโดยสารอย่างสรุปน่าจะอยู่ที่ 15 – 45 บาท หรือเท่ากับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง อย่างไรก็ตามแหม่มคิดว่าต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการอีกทีค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะกับข้อมูลของรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่ แหม่มรีวิว นำมาฝากกันในวันนี้ แหม่มขอบอกเลยว่า นอกจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะสร้างความสะดวกสบายแล้ว ยังช่วยทำให้พื้นที่ที่รถไฟฟ้าผ่านมีราคาที่ดินที่สูงขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงราคาของอสังหาทรัพย์ตามเส้นทางวิ่งก็พุ่งขึ้นทุกปีแน่นอน ใครกำลังมองหาทำเลที่อยู่อาศัย เส้นทางนี้แหม่มว่าเหมาะมาก ๆ เลยค่ะ เพราะ เดินทางสะดวกสุด ๆ จะอยู่ชานเมืองก็เดินทางเข้าตัวเมืองแค่ไม่กี่นาที สะดวกสบายสุด ๆ ไหน ๆ รถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านบ้านใครบ้าง บอกแหม่มหน่อย
อ้างอิง: 1,2,3,4,เพื่อความถูกต้องแม่นยำและอัพเดทสามารถติดต่อสอบถามทางบริษัทโดยตรง