ก่อนหน้านี้ แหม่มรีวิว ได้มีการเขียนบทความ รวมวิธีเติมเงินบัตร Rabbit ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน มาวันนี้แหม่มได้นำบทความ รวมวิธีเติมเงินบัตรโดยสาร MRT ทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง บัตรโดยสารชนิดนี้สามารถเติมเงินได้หลายช่องทาง เพื่อความสะดวกของเพื่อน ๆ ผู้ใช้บริการค่ะ บทความนี้จะรวบรวมวิธีเติมเงินบัตรโดยสาร MRT พร้อมขั้นตอนโดยละเอียด
รถไฟฟ้า MRT เป็นระบบขนส่งมวลชนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ในปัจจุบันมีรถไฟฟ้า MRT ให้บริการอยู่ 2 สาย ได้แก่ สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) บัตรโดยสาร MRT มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความคุ้มค่าของแต่ละบุคคล
[lwptoc numeration=”decimalnested” numerationSuffix=”dot” title=” รวมวิธีเติมเงินบัตร MRT – พร้อมขั้นตอนการเติมแบบละเอียด” width=”auto” float=”center” backgroundColor=”#e0ffcb” skipHeadingLevel=”H4″ skipHeadingText=”เรื่องที่เกี่ยวข้อง:”]
ประเภทโดยบัตร MRT จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
- บัตรโดยสาร MRT สำหรับบุคคลทั่วไป (Adult Card)
- สำหรับบุคคลทั่วไป
- คิดอัตราค่าโดยสารปกติตามระยะทาง
- บัตรโดยสาร MRT สำหรับนักเรียน นักศึกษา (Student Card)
- สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่มีอายุไม่เกิน 23 ปี
- ราคาจะลด 10% จากอัตราค่าโดยสารปกติทุกเที่ยวการเดินทาง
- ต้องแสดงบัตรนักเรียน นักศึกษา ควบคู่กับบัตรประชาชน เมื่อได้รับการร้องขอ
- บัตรโดยสาร MRT สำหรับผู้สูงอายุ (Elder Card)
- ลด 50% จากอัตราค่าโดยสารปกติทุกเที่ยวการเดินทาง
- สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
- ผู้ถือบัตรโดยสารต้องแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้เมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่
- บัตรโดยสาร MRT สำหรับเด็ก (Child Card)
- ลด 50% จากอัตราค่าโดยสารปกติทุกเที่ยวการเดินทาง
- สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และมีความสูงไม่เกิน 91-120 ซม.สิทธิพิเศษ : สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และมีความสูงไม่เกิน 90 ซม. จะได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
วิธีเติมเงินบัตรโดยสาร MRT
การเติมเงินบัตรโดยสาร MRT สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งแบบออฟไลน์ที่สถานี หรือเติมออนไลน์จ่าย ๆ ได้ที่บ้านค่ะ ซึ่งง่ายมาก ๆ ค่ะ แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป บทความนี้ แหม่มรีวิว จะมาแนะนำวิธีเติมเงินบัตรโดยสาร MRT มี 4 วิธีหลัก ๆ ด้วยกันค่ะ คือ
- เติมเงินในบัตรโดยสารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์
- เติมเงินใยบัตรโดยสารผ่านตู้ ATM
- เติมเงินในบัตรโดยสารผ่านตู้ออกเหรียญอัตโนมัติด้วยตนเอง
- เติมเงินในบัตรโดยสารที่ตู้จำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่
วิธีเติมเงินบัตรโดยสาร MRT ผ่านแอปพลิเคชัน
ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่รองรับการเติมเงินบัตรโดยสาร MRT อยู่หลายแอปพลิเคชัน ได้แก่
- TrueMoney Wallet
- Krungthai Next
- ShopeePay
ขั้นตอนในการเติมเงินบัตรโดยสาร MRT ผ่านแอปพลิเคชัน มีดังนี้
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่รองรับการเติมเงินบัตรโดยสาร MRT
- ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชัน
- เลือกเมนู “เติมเงินบัตรโดยสาร”
- เลือกประเภทบัตรโดยสารที่ต้องการเติมเงิน
- ระบุหมายเลขบัตรโดยสาร 8 หลัก
- ระบุจำนวนเงินที่ต้องการเติม
- เลือกช่องทางชำระเงิน
- ยืนยันรายการ
และเมื่อเพื่อน ๆ เติมเสร็จแล้ว ต้องนำบัตรโดยสารมาปรับมูลค่า ที่เครื่องปรับมูลค่าบัตรโดยสาร (Activate Value Machine: AVM) ที่ติดตั้งในทุกสถานี ภายใน 7 วันแต่ถ้าเพื่อน ๆ ไม่ได้นำไปปรับมูลค่าระบบก็จะคืนเงินอัตโนมัติค่ะ
วิธีเติมเงินบัตรโดยสาร MRT ผ่านตู้ ATM
เพื่อน ๆ สามารถเติมเงินบัตรโดยสาร MRT ผ่านตู้ ATM ของธนาคารที่ร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
ขั้นตอนในการเติมเงินบัตรโดยสาร MRT ผ่านตู้ ATM
- เลือกเมนู “เติมเงินบัตรโดยสาร”
- เลือกประเภทบัตรโดยสารที่ต้องการเติมเงิน
- ระบุหมายเลขบัตรโดยสาร 8 หลัก
- ระบุจำนวนเงินที่ต้องการเติม
- ยืนยันรายการ
วิธีเติมเงินบัตร MRT ผ่านตู้ออกเหรียญอัตโนมัติด้วยตนเอง
วิธีนี้จะคล้ายกันกับการซื้อเหรียญโดยสาร สามารถเติมเงินได้ที่ตู้จำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติในสถานี แต่วิธีนี้เพื่อน ๆ ต้องมี ขั้นต่ำ 100 บาท นะคะ จะไม่เหมือน BTS ที่ 20 บาทก็เติมได้นะคะ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนในการเติมเงินบัตร MRT ผ่านตู้จำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ
- นำบัตร MRT ไปแตะกับเครื่องอ่านบัตร
- เลือกจำนวนเงินที่ต้องการเติม
- ใส่เงินตามจำนวนเงินที่ต้องการเติม
- กดปุ่ม “ยืนยัน”
เติมเงินบัตร MRT ที่ตู้จำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่
ถือเป็นวิธีที่ง่ายอีกวิธีนึงค่ะ เพื่อน ๆ สามารถเติมเงินได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร MRT ทุกสถานี โดยนำบัตร MRT ไปให้เจ้าหน้าที่เติมเงินให้ แต่ ขั้นต่ำ คือ 100 บาท นะคะ วิธีนี้สแกนจ่ายได้นะคะ
วิธีเติมเงินบัตร MRT ผ่านห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร
- เตรียมบัตร MRT และเงินสดที่ต้องการเติม
- แจ้งจำนวนที่ต้องการเติมกับเจ้าหน้าที่
- ชำระเงินตามจำนวนที่แจ้ง
- รับบัตร MRT คืนจากเจ้าหน้าที่
ข้อควรระวังในการเติมเงินบัตรโดยสาร MRT
- ตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือในบัตรโดยสารก่อนเติมเงินทุกครั้ง
- เติมเงินในบัตรโดยสารให้เพียงพอต่อการเดินทาง
- นำบัตรโดยสารมาปรับมูลค่าภายใน 7 วัน มิฉะนั้นเงินที่เติมจะสูญเปล่า
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ แหม่มรีวิว บอกเลยค่ะว่าการเติมเงินบัตรโดยสาร MRT สามารถทำได้หลายช่องทาง เพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการอยุ่แล้ว จะเลือกเติมเงินผ่านแอปพลิเคชัน หรือตู้ ATM ของธนาคารที่สะดวกได้ตามต้องการ หรือไปเติมที่สถานีก็ทำได้ สะดวกสุด ๆ
อ้างอิง: 1,2,3,เพื่อความถูกต้องแม่นยำและอัปเดตสามารถติดต่อสอบถามทางบริษัทโดยตรง